วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 15-19 พ.ย. 2553

ส่งงาน
 สายใยอาหาร
ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิต
และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ที่สำคัญคือการเป็นอาหาร
ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในโมเลกุลของอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากพืช ซึ่ง
เป็นผู้ผลิต ( Producer ) สู่ผู้บริโภค ( Herbivore ) ผู้บริโภคสัตว์ ( Carnivore ) กลุ่มผู้บริโภคทั้งพืชและ
สัตว์ ( Omnivore ) และผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ( Decomposer ) ตามลำดับในห่วงโซ่อาหาร
( Food Chain ) ในระบบนิเวศธรรมชาติระบบหนึ่งๆ จะมีห่วงโซ่อาหารสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนหลายห่วง
โซ่ เป็นสายใยอาหาร ( Food Web )
ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสายใยอาหารในแผนภาพจะเห็นว่าเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นการแก่งแย่งกันระหว่างสิ่งมีชีวิตแต่ละ
สปีซีส์ คือ เป็นเหยื่อกับผู้ล่าเหยื่อ ( Prey – Predator Interaction ) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่มีฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์
์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์
ไลเคนส์เป็นสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด คือ รากับสาหร่ายสีเขียว การอยู่ร่วมกันนี้ทั้งสาหร่ายและราต่างได้รับประโยชน์ กล่าวคือ
สาหร่ายสร้างอาหารเองได้แต่ต้องอาศัยความชื้นจากรา ราก็ได้อาศัยอาหารที่สาหร่ายสร้างขึ้นและให้ความชื้นแก่
สาหร่าย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันชั่วคราวหรือตลอดไป และต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์
เรียกว่า ภาวะทีพึ่งพากัน ( Mutualism )
แบคทีเรีย พวกไรโซเบียม ( Rhizobium ) ที่อาศัยอยู่ที่ปมรากพืชตระกูลถั่ว โดยแบคทีเรียจับไนโตรเจนในอากาศ
แล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนเตรตที่พืชนำไปใช้ ส่วนแบคทีเรียก็ได้พลังงานจากการสลายสารอาหารที่มีอยู่ในรากพืช
นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างซีแอนีโมนีกับปูเสฉวน มดดำกับเพลี้ยก็เป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาฝ่ายหนึ่งได้รับ
ประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่เสียประโยชน์แต่อย่างใด เช่น เหาฉลามเกาะอยู่บนปลาฉลาม
พืชที่เจริญบนต้นไม้ใหญ่ เช่น เฟิร์น พลูด่าง กล้วยไม้ เถาวัลย์ ที่เลื้อยพันอยู่กับต้นไม้ใหญ่เฉพาะบริเวณเปลือกของลำต้น

เพื่ออาศัยความชื้นและแร่ธาตุบางอย่างจากเปลือกต้นไม้เท่านั้น โดยต้นไม้ใหญ่ไม่เสียประโยชน์เรียกความสัมพันธ์เช่นน
ี้ว่า ภาวะอ้างอิง ( Commensalism )
ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ คือความสัมพันธ์ที่เรียกว่า ภาวะปรสิต ( Parasitism ) เช่น

เห็บที่อาศัยที่ผิวหนังของสุนัข สุนัขเป็นผู้ถูกอาศัย ( Host ) ถูกเห็บสุนัขดูดเลือดจึงเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ ส่วนเห็บซึ่ง
เป็นปรสิต ( Parasite ) ได้รับประโยชน์คือได้อาหารจากเลือดของสุนัข
ภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ยังเป็นที่อาศัยของปรสิตหลายชนิด เช่น พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวตืด

ในทางเดินอาหาร เป็นต้น
กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ได้แก่ แบคทีเรีย เห็ด รา จะสร้างสารออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต บางส่วน
ของสารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดกลับไปใช้ในการดำรงชีวิต ด้วยกระบวนการดังกล่าวทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเน่าเปื่อยย่อยสลาย
เป็นอนินทรียสารกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์แบบนี้เรียกว่า ภาวะมีการย่อยสลาย ( Saprophytism )
ตอบ   ข้อ 4
ที่มา :  www.panyathai.or.th/wiki/.../ห่วงโซ่อาหาร



 การสังเคราะห์ด้วยแสง (อังกฤษ: photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช,สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาปรุงอาหารได้ จะว่าไปแล้ว สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อความเติบโตของตน ทั้งทางตรงและทางอ้อม นับเป็นความสำคัญยิ่งยวดสำหรับสิ่งมีชีวิตในโลก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการผลิตออกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs"

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) เป็น การสร้างอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตของพืชสีเขียวเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของพืชอีกทั้งยังเป็นการผลิตอาหารสำหรับสิ่งมีชีวิต อื่นๆบนโลกในพืชสีเขียวนั้นมีคลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่ดูดกลืนพลังงานแสง จากดวงอาทิตย์มาใช้ในการสร้างอาหารนอกจากนั้นพืชยังจำเป็นต้องใช้น้ำและแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสารอนินทรีย์โมเลกุลเล็กมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสงอีกด้วย
การค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชในปัจจุบันนี้ได้มาจากการ ศึกษาค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน ซึ่งการตั้งสมมุติฐานและข้อสรุปที่ได้จากการทำการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ที่ เราควรทราบมีดังต่อไปนี้

#ในปี ค.ศ. 1648 แวน เฮลมองท์ (Van Helmont) นักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยียม ได้ทำการทดลองปลูกต้นหลิวในกระถาง โดยการควบคุมตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ปริมาณดิน ปริมาณน้ำ อุณหภูมิ แสงสว่าง เป็นต้น เวลาผ่านไป 5 ปี ต้นหลิวมีการเจริญเติบโตมากขึ้น เมื่อนำต้นหลิวไปชั่งน้ำหนักพบว่ามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก แต่น้ำหนักของดินในกระถางลดลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากการทดลองดังกล่าวแวน เฮลมองท์ได้ให้ข้อสรุปได้ว่า น้ำหนักของต้นหลิวที่เพิ่มขึ้นได้มาจากน้ำเพียงอย่างเดียว ซึ่งข้อสรุปนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากในยุคนั้น
ตอบ  ข้อ 3

สาร CFC
สาร CFC คือ
       คลอ โรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) คือสารประกอบที่เกิดจาก คลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) และคาร์บอน (C) ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากหลายกรณีเช่น การปล่อยควันพิษของโรงงาน โดยเรายังจะสามารถพบสารนี้ได้ในตู้เย็นของเรา หรือแม้แต่ในสเปรย์ทุกชนิด ฉะนั้น การใช้สเปรย์จึงเป็นการสร้างสาร CFC โดยสาร CFC นี้ มีความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก เพราะว่าสาร CFC สามารถที่จะทำลายชั้นโอโซน ทำให้ชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่ ทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) สามารถแผ่เข้ามาสู่ผิวโลกได้อย่างเข้มข้นขึ้น ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่ร้อนจัด และทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังในคน พื้นดินจะกลายเป็นทะเลทราย เกิดภาวะน้ำแล้ง จนในที่สุด โลกก็จะถูกทำลาย และสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดจะสูญพันธุ์
       สาร CFC มีผลเสียมากกว่าผลดีต่อสิ่งแวดล้อม สารคลอโรฟูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon; CFC) เป็นกลุ่มของสารเคมีสังเคราะห์ที่มีคลอรีนผสมอยู่ ซึ่งใช้ทางอุตสาหกรรมหลายอย่าง สารเหล่านี้ไม่ค่อยจะทำปฏิกิริยาและใช้กับตู้เย็น (เป็นตัวทำละลายที่ใช้ทำความสะอาด) และถังดับไฟ แม้ดูเหมือนว่ามันมีประโยชน์ แต่คุณสมบัติที่ไม่ค่อยทำปฏิกิริยาของมันมีบทบาทในการทำลายชั้นโอโซน (ozone layer) ของโลกเรา ชั้นโอโซน (ozone layer) อยู่ในชั้นบรรยากาศที่ชื่อว่า สตราโตสเฟียร์ (stratosphere) ซึ่งมีความสูงอยู่ระหว่าง 15-40 กิโลเมตร (9.3-25 ไมล์) ชั้นโอโซนเป็นตัวกรองรังสีอัลตร้าไวโอเลต (ultraviolet, UV) ที่มีอันตรายต่อเซลล์ แม้ว่ายิ่งมันอยู่สูงมากขึ้น แต่ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์มักจะอุ่นขึ้นและมีความหนาแน่นน้อยกว่าชั้น บรรยากาศที่อยู่ต่ำกว่า อากาศและสารเคมีต่างๆ จะผสมกันอย่างช้าๆ จากชั้นที่อยู่ต่ำไปยังชั้น(สตราโตสเฟียร์)ที่อยู่สูงขึ้นไป

สาร CFC คือ
       คลอ โรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) คือสารประกอบที่เกิดจาก คลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) และคาร์บอน (C) ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากหลายกรณีเช่น การปล่อยควันพิษของโรงงาน โดยเรายังจะสามารถพบสารนี้ได้ในตู้เย็นของเรา หรือแม้แต่ในสเปรย์ทุกชนิด ฉะนั้น การใช้สเปรย์จึงเป็นการสร้างสาร CFC โดยสาร CFC นี้ มีความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก เพราะว่าสาร CFC สามารถที่จะทำลายชั้นโอโซน ทำให้ชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่ ทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) สามารถแผ่เข้ามาสู่ผิวโลกได้อย่างเข้มข้นขึ้น ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่ร้อนจัด และทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังในคน พื้นดินจะกลายเป็นทะเลทราย เกิดภาวะน้ำแล้ง จนในที่สุด โลกก็จะถูกทำลาย และสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดจะสูญพันธุ์
       สาร CFC มีผลเสียมากกว่าผลดีต่อสิ่งแวดล้อม สารคลอโรฟูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon; CFC) เป็นกลุ่มของสารเคมีสังเคราะห์ที่มีคลอรีนผสมอยู่ ซึ่งใช้ทางอุตสาหกรรมหลายอย่าง สารเหล่านี้ไม่ค่อยจะทำปฏิกิริยาและใช้กับตู้เย็น (เป็นตัวทำละลายที่ใช้ทำความสะอาด) และถังดับไฟ แม้ดูเหมือนว่ามันมีประโยชน์ แต่คุณสมบัติที่ไม่ค่อยทำปฏิกิริยาของมันมีบทบาทในการทำลายชั้นโอโซน (ozone layer) ของโลกเรา ชั้นโอโซน (ozone layer) อยู่ในชั้นบรรยากาศที่ชื่อว่า สตราโตสเฟียร์ (stratosphere) ซึ่งมีความสูงอยู่ระหว่าง 15-40 กิโลเมตร (9.3-25 ไมล์) ชั้นโอโซนเป็นตัวกรองรังสีอัลตร้าไวโอเลต (ultraviolet, UV) ที่มีอันตรายต่อเซลล์ แม้ว่ายิ่งมันอยู่สูงมากขึ้น แต่ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์มักจะอุ่นขึ้นและมีความหนาแน่นน้อยกว่าชั้น บรรยากาศที่อยู่ต่ำกว่า อากาศและสารเคมีต่างๆ จะผสมกันอย่างช้าๆ จากชั้นที่อยู่ต่ำไปยังชั้น(สตราโตสเฟียร์)ที่อยู่สูงขึ้นไป

               คลอรีน ตามธรรมชาติมักจะอยู่ในรูปที่สามารถทำปฏิกิริยาและสามารถละลายได้ในชั้นสตรา โตสเฟียร์ที่อยู่ต่ำๆ และถูกน้ำฝนชะล้างได้ง่ายอีกด้วย แต่ถ้าคลอรีนอยู่ในชั้นสตราโตสเฟียร์ มันจะทำปฏิกิริยากับโอโซนอีกแบบหนึ่งคือ มันจะทำลายโมเลกุลของโอโซน หลังจากนั้นคลอรีนจะถูกปลดปล่อยออกมา และสามารถกลับมาทำปฏิกิริยากับโมเลกุลโอโซนโมเลกุลใหม่ได้อีกครั้ง ด้วยวิธีนี้ คลอรีนทำตัวเป็นสารเร่งปฏิกิริยา โดยคลอรีนจะร่วมทำปฏิกิริยาและเพิ่มความเร็วของปฏิกิริยาทำลายชั้นโอโซนนั่น เอง จากการคำนวณพบว่า โมเลกุลคลอรีนที่พร้อมทำปฏิริกิยาหนึ่งโมเลกุลสามารถทำลายโมเลกุลโอโซนได้ ถึง 10,000 โมเลกุลก่อนที่มันถูกปลดปล่อยออกจากชั้นสตราโตสเฟียร์ รูโหว่ในชั้นโอโซน (ozone hole) เหนือทวีปแอนตาร์กติกา (Antartica) บริเวณขั้วโลกใต้ส่วนใหญ่เกิดมาจากคลอรีนที่พร้อมทำปฏิกิริยาและธาตุโบรมีน (bromine) เนื่องจากสาร CFC เป็นสารที่ไม่ชอบทำปฏิกิริยา (เป็นคุณสมบัติที่เหมาะสมอย่างมากในการใช้เป็นสารเคมีทางด้านอุตสาหกรรม) มันจึงสามารถล่องลอยขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์โดยที่โมเลกุลไม่ เปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่เหมือนกับสารประกอบคลอรีนทั่วไป ในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ การแผ่รังสี UV จะมีมาก ซึ่งมีผลทำให้โมเลกุลของสาร CFC แตกออกกลายเป็นคลอรีนภายในโอโซน ซึ่งมีอันตรายมากที่สุด การใช้สาร CFC มีความเกี่ยวข้องกับการทำลายชั้นโอโซนอย่างเด่นชัด และประเทศต่างๆ ได้ร่วมทำสนธิสัญญาต่างๆ ในการลดการใช้สารนี้ เพื่อรักษาชั้นโอโซนที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ การแทนที่การใช้ CFC มีหลายรูปแบบคือ ในตู้เย็น มีการพัฒนาสาร HCFC ซึ่งมีโฮโดรเจนร่วมอยู่ด้วย ซึ่งสารนี้จะแตกตัวทันทีในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ด้านล่าง และทำให้คลอรีนลอยขึ้นไปยังชั้นโอโซนน้อยลง สำหรับการทำความสะอาดในตู้เย็น ในปัจจุบันได้มีหลายกระบวนการที่ใช้ supercritical carbon dioxide หรือตัวทำละลายที่มีกรดซิตริกเป็นหลัก ซึ่งไม่มีอันตรายต่อชั้นโอโซน เราพบว่ามีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยเมื่อมีการลดปริมาณการใช้สาร CFC ลง ข้อโต้แย้งในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับการใช้ยาฆ่าแมลงที่มีเมธิลโบรไมด์ (methyl bromide) ซึ่งมีการใช้ตามพื้นที่เพาะปลูกต่างๆ แต่ปริมาณการใช้ก็เริ่มลดลงแล้ว โบรมีน (bromine) ที่ถูกปลดปล่อยมาจากสารเมธิลโบรไมด์นั้นสามารถเพิ่มความเสียหายของชั้นโอโซน ได้ด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกับคลอรีน หลายประเทศจึงมีการรนณรงค์เปลี่ยนแปลงการใช้สารเหล่านี้ขึ้น
ตอบ   ข้อ 2
ที่มา :   www.tpfria.or.th/index.php/Cfc.html



              

                ไวรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยคำว่าไวรัสอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียง ประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พริออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 [1] ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ [2] วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology)
ตอบ  ข้อ 4
ที่มา :    www.thaigoodview.com/node/5






เซลล์ โดยทั่วไปถึงแม้จะมีขนาด รูปร่าง และหน้าที่แตกต่างกัน แต่ลักษณะพื้นฐานภายในเซลล์มักไม่แตกต่างกัน นักชีววิทยาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพบว่า ในไซโทพลาซึมมีโครงสร้างขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เฉพาะเรียกว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) มีหลายขนาด รูปร่าง จำนวน และหน้าที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ซึ่งจะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่คล้าย คลึงกัน ดังนี้
1. นิวเคลียส (nucleus)
     เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์เมื่อย้อมสีจะติดสีเข้มทึบ มีลักษณะเป็นก้อนทึบแสงเด่นชัดอยู่บริเวณกลางๆ เซลล์โดยทั่วๆ ไปจะมี 1 นิวเคลียส เซลล์พารามีเซียม มี 2 นิวเคลียส นิวเคลียสมีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม จึงมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยทำงานร่วมกับไซโทพลาซึม2. ผนังเซลล์ (cell wall)     ผนัง เซลล์ พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลากชนิด เช่น เซลล์พืช สาหร่าย แบคทีเรีย และรา ผนังเซลล์ทำหน้าที่ป้องกันและให้ความแข็งแรงแก่เซลล์ โดยที่ผนังเซลล์เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตของเซลล์
3.คลอโรพลาสต์ ( chloroplaast) เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติคมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติค จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ ( chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส ถ้าพลาสติคนั้นไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ ( leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี ( starch grains) เรียกว่า amyloplast

ตอบ   ข้อ 1 


สารละลายไฮเปอร์โทนิก ( Hypertonic solution ) สลล. ที่มีความเข้มข้นสูง เมื่อเทียบกับความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์
ดังนั้น ถ้าเซลล์อยู่ในสภาวะที่มีสารละลายไฮเปอร์โทนิกอยู่ล้อมรอบ
เยื่อหุ้มเซลล์จะหดตัวและเหี่ยวแฟบลง เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำออกจากเซลล์
เราเรียกขบวนการแพร่ของน้ำออกมาจาก cytoplasm และมีผลทำให้เซลล์มีปริมาตรเล็กลงนี้ว่า พลาสโมไลซิส ( Plasmolysis )
ตอบ  ข้อ  1
ที่มา :  www.thaigoodview.com/.../Lesson4.htm





     การแพร่สารแบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion) คือการลำเลียงสารจากบริเวณ ที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปจนถึงบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ แต่ต้องอาศัยตัวพาเป็นตัวกลาง (Carrier) ในการแพร่ ซึ่งมักเป็นสารจำพวกโปรตีนที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเช่นกรดอะมิโนซึ่งพบได้ในเยื่อหุ้มเซลล์ รวมถึงน้ำตาลกลูโคส, คาร์บอเนตและไบคาร์บอเนต การแพร่แบบนี้ใช้การเคลื่อนที่แบบบราวนิงในการแพร่
    การแพร่ (diffusion) เป็นการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปสุ่ บริเวณที่ความเข้มข้นของสารต่ำ สารที่มีขนาดเล็กและละลายในไขมันได้ดี และไม่มีขั้วจะเข้าสู่เซลล์ โดยกระบวนการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ดี และมีอัตราแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้สูง แต่สารบางชนิด
ไม่สามารถแพ่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง จะแพร่ผ่านรูหรือช่องของโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ไอออนขนาดเล็ก
เช่น โพแทสเซียม โซเดียม หรือคลอไรด์จะแพร่ผ่านช่องของโปรตีนนี้ได้
ตอบ  ข้อ  3
       ที่มา :   www.thaigoodview.com/.../facilitated.html






โปรตีน คือ สารชีวโมเลกุลประเภทสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C, H, O, N เป็นองค์ประกอบสำคันอกจากนั้นยังมีธาตุอื่น ๆ เช่น S, P, Fe, Zn ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของโปรตีน โปรตีน เป็นสารพวกพอลิเมอร์ ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนมากมาย
สมบัติของโปรตีน
1. การละลายน้ำ ไม่ละลายน้ำ บางชนิดละลายน้ำได้เล็กน้อย
2. ขนาดโมเลกุล และมวลโมเลกุล ขนาดใหญ่มีมวลโมเลกุลมาก
3. สถานะ ของแข็ง
4. การเผาไหม้ เผาไหม้มีกลิ่นไหม้
5. ไฮโดรลิซิส
6. การทำลายธรรมชาติ โปรตีนบางชนิดเมื่อได้รับความร้อน หรือเปลี่ยนค่า pH หรือเติมตัวทำลายอินทรีย์บางชนิด จะทำให้เปลี่ยนโครงสร้างจับเป็นก้อนตกตะกอน
7. การทดสอบโปรตีน
สารละลายไบยูเรต เป็นสารละลายผสมระหว่าง CuSO4 กับ NaOH เป็นสีฟ้า


โปรตีน
เป็นโมเลกุลที่มีความซับซ้อน และเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายจะขาดไม่ได้ คนและสัตว์ส่วนใหญ่จะใช้สารอาหารประเภทคาร์โบฮัยเดรตและไขมันเป็นพลังงาน ส่วนน้อยสำหรับประกอบเป็นโครงสร้างและเนื้อเยื่อ แต่โปรตีนนั้นร่างกายจะใช้เป็นส่วนประกอบของเซลล์ และทำหน้าที่สังเคราะห์สารต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมกระบวนการเมตะบอลิสมเพื่อให้การทำงานในส่วนต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปตามปกติ เช่น เอนไซม์ และฮอร์โมน เป็นต้น เมื่อเหลือแล้วจึงใช้เป็นพลังงานหรือเก็บเป็นพลังงานสำรองในรูปของกลัยโคเจ็น และไขมัน (storage depot)
 

ความสำคัญของกรดอะมิโน

โปรตีนประกอบด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด (standard amino acids) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทได้แก่กรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) และกรดอะมิโนไม่จำเป็น (non-essential amino acid) กรดอะมิโนจำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น มี 10 ชนิด ได้แก่ methionine arginine threonine tryptophan valine isoleucine leucine  phenylalanine histidine และ lysine ซึ่งมีสูตรจำง่ายๆ ตามชื่อย่อของกรดอะมิโนว่าเป็น MATT VILPHL ส่วนกรดอะมิโนอีก 10 ชนิดที่เหลือเป็นกรดอะมิโนไม่จำเป็น ซึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง อย่างไรก็ตาม tyrosine สามารถสังเคราะห์ได้จาก phenylalanine โดยเอนไซม์  phenylalanine hydroxylase แต่ tyrosine ไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็น phenylalanine  
ตอบ  ข้อ 1
ที่มา :  www.bkw.ac.th/content/snet5/topic8/protein.html




ผิวหนังปลามีอยู่ด้วยกัน 3 ชั้น ได้แก่
  1. Epidermis ชั้นนี้เป็นชั้นนอกสุด ไม่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยง มีเฉพาะต่อมเมือกเท่านั้น บางที่เวลาเราจับมาหนัง (ปลาไม่มีเกล็ด) จะพบว่ามือเราจะสัมผัสกับเมือก ลื่นๆ ทำให้จับปลาได้ยากขึ้น เมือกลื่นๆนี้ เป็นสารประกอบพวก Mucin(Glycoprotein และน้ำ)
  2. Dermis ชั้นนี้มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ (Spongiosum) เรียงต่อกัน (Compactum) มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยง เป็นชั้นที่มีเม็ดสี (Chromatophors) และ สร้างเกล็ด (Scales) มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue)
  3. Hypodermis เป็นชั้นเม็ดสีเช่นกัน และมีเซลไขมันอยู่ด้วย (Lipid Cells)
Skin of Freshwater Teleost (ผิวหนังของปลาน้ำจืด)
ผิว หนังของปลาน้ำจืดมีลักษณะเป็น Impermeable น้ำ หรือ ไม่ยอมให้น้ำเข้าผ่านผิวหนังได้ ซึ่งปกติ ภายในร่างกายของปลาน้ำจืดจะมี Body Fluid ที่มีลักษณะเป็น Hypertonic กับน้ำ ทำให้น้ำสามารถเข้าตัวปลาได้ง่าย ดังนั้นผิวหนังของปลาน้ำจืดจึงจำเป็นต้อง Impermeable น้ำนั่นเอง
Skin of Seawater Teleost (ผิวหนังของปลาทะเล)
ผิว หนังของปลาทะเล มีลักษณะเป็น Impermeable เช่นกัน แต่ไม่ใช่น้ำ เป็น เกลือ (Salt) แทน เพราะภายในร่างกาย Body Fluid ของปลาทะเล มีลักษณะเป็น Hypotonic กับน้ำทะเลที่อาศัยอยู่ ทำให้เกลือสามารถเข้ามาภายในร่างกายได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ผิวหนังของปลาทะเลจึงต้อง Impermeable เกลือ

Gill (เหงือกปลา)
เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องสัมผัสกับน้ำ เพื่อใช้ในการหายใจของปลา ดังนั้นบริเวณนี้ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมสมดุลน้ำ และแร่ธาตุเช่นกัน
1. Respiratory Component ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ O2 และ CO2 มีความหนา 3-5 µm รูปร่างแบน (Flatten Cells)
2. Non Respiratory Component ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนน้ำ และ อิออน ขับแอมโมเนีย มีความหนามากกว่าพวก Respiratory Component มีรูปร่าง กลม รียาว เป็นเซลที่มี mitochondria มาก เพราะต้องใช้พลังงานสูง มี Enzyme พวก Carbonic anhydrase, Na+ K+ ATPase, Glutamic dehydrogenase

Freshwater Osmoregulation
การ ควบคุมสมดุลน้ำ และแร่ธาตุของปลาน้ำจืด ภายในตัวปลาน้ำจืด มี Body Fluid ที่เป็น Hypertonic เมื่อเทียบกับน้ำที่ปลาอาศัยอยู่ ดังนั้น น้ำภายนอกตัวปลาจึงต้องไหลเข้าสู่ภายในร่างกาย เนื่องจาก
  1. Osmotic Gradient ความแตกต่างของความเข้มข้นของ Fluid ทั้งสองที่ คือ ทั้งภายนอก และภายในร่างกายปลา
  2. น้ำสามารถ ผ่านเข้ามาภายในร่างกายปลาได ดังนั้นปลาจึงจำเป็นต้องขับน้ำที่เข้ามานี้ออกสู่ภายนอก ด้วยวิธีการขับออกทางปัสสาวะ โดยมีลักษณะเป็น Urine ที่เป็น Hypotonic
  3. มีความต้องการนำเกลือเข้าสู่ร่างกาย ในบริเวณ Gill, Skin โดยวิธีการแพร่ Reabsorption บริเวณ Kidney
ตอบ  ข้อ 4

แวคิวโอล (vacuole)
          คือ ถุงบรรจุสาร เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง มีเมมเบรนที่เรียกว่า โทโนพลาสต์
(tonoplast) ห่อหุ้ม ภายในมีสารต่าง ๆ บรรรจุอยู่ โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ชั้นต่ำ
ในสัตว์ชั้นสูงไม่ค่อยพบ แวคิวโอลแแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

    คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล(contractile vacuole)

           ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ พบในเซลล์ อะมีบา พารามีเซียม
                         


ตอบ ข้อ  3
ที่มา  :  www.thaigoodview.com/.../45/.../vacuole.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น